วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ระเบียบปฏิบัติแนวคิดในการคิด workload

ติดไว้เมื่อสองสามวันก่อนเอามาพูดก่อนลืมครับ

วัตถุประสงค์ และการนำไปใช้งานเพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบในการคิด workload ในการทำแล็บในห้องปฏิบัติการทางคลินิก ซึ่งมีความหลากหลายในหน้าที่ และการทำงาน ทำให้ยากแก่การการทบทวนในการคิดค่าน้ำหนักงานในการปฏิบัติราชการแนวใหม่ (รูปแท่ง)

ในฐานะเป็นนักเทคนิคการแพทย์คนหนึ่งที่ทำงานในห้องปฏิบัติการทางคลินิก ซึ่งได้สัมผัสงานมาแทบทุกงานที่หัวหน้างานสั่งให้ไปทำ/อยู่ หรือปฏิบัติงาน ณ จุดใด จุดหนึ่งในห้องแล็บซึ่งมิอาจที่จะเลือกได้ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ที่นำมาเขียนน่าจะเป็นส่วนดีมากกว่าที่ได้ย้ายงานหลากหลายงานทำให้เห็นข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ (งานไหนหนักงานไหนเบา)

ด้วยระบบบริหารงานราชการแนวใหม่(รูปแท่ง)ทำให้ต้องมีการคิดค่าของงานที่ทำเพื่อตอบสนอง วิสัยทัศน์ และ พันธะกิจของโรงพยาบาลทำให้จำเป็นต้องมีการคิดค่าของงานขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารระบบราชการแนวใหม่ที่ต้องการคนทำงานจริงๆไว้ในระบบ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จำเป็นต้องหากฎ หรือกติกาที่ต้องได้การยอมรับทั้งสองฝ่าย ในการคิดค่างาน หรือ workload ขึ้นมา


ตัวอย่างการคิด workload ในงานตรวจ urinalysis ของงานจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิกกลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

1. เริ่มจากกระบวนงาน urinalysis มีกี่ขั้นตอน และอะไรบ้าง

ลำดับที่

วิธีการ/กระบวนการ

ระยะเวลามาตรฐานที่ใช้โดยเฉลี่ย

1

ตรวจสอบตัวอย่าง กับ บาร์โค๊ด

60sec/ ตัวอย่าง

2

ติดบาร์โค๊ดทิ้วป์

3

ติดบาร์โค๊ดที่ใบ worksheet(สีเหลือง)

4

นำทิ้วป์เข้าเครื่องอ่านแถบปัสสาวะ

5

นำทิ้วป์เข้าเครื่องปั่น

6

เตรียม urine wet prep. Slide

20sec/ตัวอย่าง

7

ตรวจดูตะกอนปัสสาวะ

65 sec/ ตัวอย่าง

8

ลงผลแล็บ LIS

20 sec/ ตัวอย่าง

9

ตรวจสอบผลใน HIS (ความครบถ้วน และความถูกต้อง)

20 sec/ ตัวอย่าง

รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมด

185 sec/ ตัวอย่าง

(ประมาณ 3 นาที)

2. แต่ละขบวนการใช้เวลาเท่าไหร่....ต้องหาเวลามาตรฐาน

วิธีการหาเวลามาตรฐานโดยเฉลี่ย ต้องดูจากปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระยะเวลา (กล่าวคือทำให้เวลาที่ได้ไม่เท่ากันในแต่ละครั้งของการตรวจแล็บ ในงานตรวจ urinalysis เป็น manual ซึ่งทักษะของบุคลากรไม่เท่ากันทำให้เกิดการเบี่ยงเบนมากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องมีการหาเวลาเฉลี่ยในการทำแต่ละบุคคล และปริมาณงานที่มาแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ซึ่งไม่ตรงกับระยะเวลาเฉลี่ยจริงที่ต่อ 1 ตัวอย่าง ซึ่งน่าจะหา trend ของตัวอย่างในการมาแต่ละครั้งซึ่งน่าจะได้ระยะเวลาที่แท้จริง

3. ปริมาณงานเฉลี่ย/ปี

ปริมาณการตรวจเฉลี่ยทั้งปีทำให้ทราบว่าการตรวจ U/A ทั้งปีใช้ระยะเวลาไปเท่าไหร่

ซึ่งจากปีงบประมาณ 2552 มีการตรวจ U/A ทั้งสิ้น 62,204 การทดสอบ จาก 365 วัน แต่ถ้าคิดที่ 240 วันทำการจะมีการทดสอบ U/A = 40,901 การทดสอบ จากสถิติโดยเฉลี่ยเวรบ่าย-ดึกมีการตรวจ U/A =39-78 ราย (เฉลี่ย 58.8ราย) ทั้งปี= (240×58.5) 14,040 ราย

เพราะฉะนั้น U/A เวรเช้า = (40,901-14,040) 26,861 รายการทดสอบ

4. เวลาที่ทำงานทั้งปี

เวลางานทั้งปีได้จากการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ซึ่งหักเวลาพักออกไป 2 ชั่วโมงก็เหลือระยะเวลาทำงานจริงๆต่อวันคือ 6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นจะมีเวลาราชการอยู่ 6x20x12 =240 หักลาพักร้อนอีก 10 วัน คงเหลือเวลา 230 วัน หรือ 230x 6x60 = 82,800 นาที/ปี/คน

5. กำลังคนที่มีอยู่

เพื่อที่จะนำมาใช้คำนวณ workload โดยเอาจำนวนคนคูณเวลาทำงานทั้งปี ก็จะได้ ความสามารถในการทำงานทั้งปีของหน่วยงาน หรือเอาระยะเวลางานทั้งหมดหารด้วยเวลาทำงานทั้งปี

=26,861×3 =80,583 นาทีเหมาะสำหรับ 1 คน

การคิดเวลาเฉลี่ยงานตรวจ stool exam ทำคล้ายกับงานตรวจ urinalysis ตั้งแต่ขบวนการที่ 1-3 ส่วนขบวนการ 4-5 นำเอาของ urinalysis มาใช้ได้เลย

ลำดับที่

วิธีการ/กระบวนการ

ระยะเวลามาตรฐานที่ใช้โดยเฉลี่ย

1

ตรวจสอบตัวอย่าง (pre-analytic analysis) กับใบ worksheet (ws)

30 sec

2

Macroscopic exam, ลงผลการทดสอบที่ได้ลง ws

45 sec

3

เตรียม stool saline wet preparation slide

45 sec

4

Microscopic exam 10x ทั้งสไลด์

180 sec

5

ลงผลใน LIS

20 sec

6

Approved ผลใน HIS

20 sec

รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมด

340 sec(5.67 นาที)

ปริมาณงานเฉลี่ยของ stool exam ปี 52 ที่ผ่านมา 8957.8 ราย/ปี(365 วัน) ซึ่งงานตรวจ stool exam ไม่ได้เปิดตรวจเวรบ่าย-ดึก เพราะฉะนั้น คิดที่ 240 วันทำการจะได้ 5,890 รายการทดสอบ/ปีวันทำการ เพราะฉะนั้นจะใช้เวลาทดสอบ 5.67×5,890

= 33,396 นาที

จากข้อ 4 เวลาทำงานทั้งปี = 82,800 นาที/คน/ปี

ปริมาณงานจุลทรรศน์ที่มากเป็นงานอันดับที่ 3 ของคืองาน cell count &diff ก็ทำตามขั้นตอนดังกล่าวเหมือนเดิม

ลำดับที่

วิธีการ/กระบวนการ

ระยะเวลามาตรฐานที่ใช้โดยเฉลี่ย

1

ตรวจสอบตัวอย่าง (pre-analytic analysis) กับใบ worksheet (ws)

30 sec

2

Macroscopic exam, ลงผลการทดสอบที่ได้ลง ws

45 sec

3

count cells ใน chamber รวมถึงการ dilute ตัวอย่างในกรณที่ขุ่นมากๆ

240 sec

4

ลงผลใน ws คำนวณ

60 sec

5

นำ ตัวอย่างไปปั่น

10 sec

6

เตรียม สเมียร์สไลด์

20 sec

7

ย้อมสไลด์

30 sec

8

differential slide

180 sec

9

ลงผล LIS

20 sec

10

Approved ผลใน HIS

20 sec

รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมด

655 sec(11 นาที)

ปริมาณงานเฉลี่ยของ cell count &diff ปี 52 ที่ผ่านมา 2421.7 ราย/ปี(365 วัน) คิดที่ 240 วันทำการจะได้ 1747.8 รายการทดสอบ/ปีวันทำการ เอาเฉพาะเวรเช้า(หาร 3) จะได้ 582.6 เพราะฉะนั้นจะใช้เวลาทดสอบ 11×582.6

= 6,409 นาที

จากข้อ 4 เวลาทำงานทั้งปี = 82,800 นาที/คน/ปี

ในส่วนของ Waive test ซึ่งได่แก่ UPT , met-amphetamine, morphine, รวมถึง glucose strip และ stool occult blood

ลำดับที่

วิธีการ/กระบวนการ

ระยะเวลามาตรฐานที่ใช้โดยเฉลี่ย

1

ตรวจสอบตัวอย่าง (pre-analytic analysis) กับใบ worksheet (ws)

30 sec

2

ทำการทดสอบ (ฉีก,จุ่ม,ป้าย, อ่านผล)

30 sec

3

ลงผลใน LIS

20 sec

4

Approved ผลใน HIS

20 sec

รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมด

100 sec(2 นาที)

ในทำนองเดียวกับการหาปริมาณงานเฉลี่ยของ UA stool และ cell countหวังว่าเพื่อนๆ พี่ๆน้องคงจะได้ประโยชน์จากบทความนี้นะครับ อาจจะไม่ตรงร้อยเปอร์เซนต์แต่ก็ลองนำไปปรับใช้ดูครับ

ไม่มีความคิดเห็น: