วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

แนวคิดการจัดทำตัวชี้ัวัดที่หนึ่ง KPI Lab 1

กำลังจะเข้าสู่โค้งสุดท้าย ปลายปีงบประมาณแล้วครับพี่ๆน้องๆทั้งหลาย คงจะได้รู้แล้วครับว่า KPI (key performance index) ที่เราตั้งไว้ใช้ได้รึเปล่า ซึ่งสำหรับห้องแล็บผมผ่านมาครึ่งปีแล้วครับ กำลังจะใช้ KPI ที่ปรับปรุงครั้งก่อนมาประเมินหลังจากการทดลองนำมาใช้ครึ่งปีแรกไม่ประสบผลสำเร็จครับ ก็หวังว่าน่าจะนำมาใช้ประเมินข้าราชการที่เป็นลูกน้องได้ แต่กว่าจะนำมาใช้ได้การปรับจาก KPI 5 ตัวชี้วัดลดลงเหลือ 4 ตัวชี้วัด โดยที่ตัวชี้วัดของแต่ละตัวต้องตอบสนองในส่วนของ พันธกิจ และวิสัยทัศน์ ผมคงจะไม่พูดเรื่องวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของห้องปฎิบัติการ เพราะคิดว่าน่าจะคล้ายๆกัน แต่จะไปพูดถึง เครื่องมือ (tool) ที่จะนำมาใช้ผลักดันตัวชี้วัดให้ออกมาเป็นรูปธรรม

ผมจะยกตัวอย่างของ KPI ตัีวแรกในส่วนของห้องปฎิบัติการเรา คือปริมาณงานประจำที่ทำ ซึ่งดูเหมือนจะงานที่ง่ายที่สุด แต่ในทางปฎิบัติเนื่องจากงานในห้องปฏิบัติการมีความหลากหลาย จากแนวคิดวัตถุประสงค์ในการทำ KPI เพื่อนำมาเป็นตัวชี้วัดลงสู่ระดับบุคคลให้ได้ ซึ่งใครทำงานมากคนนั้นต้องได้ผลตอบแทนมากตาม

ผมขอยกตัวอย่างงานที่ได้ทำ งานจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิค
งานประจำแล็ปตรวจทุกแล็ปที่อยู่ในงานจุลทรรศน์ (urinalysis, stool exam, cell count &cell diff etc.) นำมาทำการวิเคราะห์ค่างาน (job analysis)โดยใช้หน่วยของการวิเคราะห์ค่างานเป็นแบบ การถ่วงน้ำหนัก (อาจจะเป็นค่าที่สมมุติขึ้น แต่ในกรณีนี้จะค่าเป็นระยะเวลาที่ใช้ในงานชิ้นนั้นๆ) โดยต้องได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมปฎิบัติงานนั้นๆ ซึ่ีงอาจจะต้องหาเวลามาตรฐานซึ่งต้องเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ปฎิบัติทั้งหมด ขอย้ำว่าทั้งหมดนะครับ
เช่นในการวิเคราะห์งาน urinalysis พบว่ามีขั้นตอนดังนี้
1 ตรวจสอบความถูกต้องของสิ่ิงส่งตรวจ กับใบนำส่ง ใช้เวลา 15 วินาที
2 นำสิ่งส่งตรวจเข้าเครื่องวิเคราะห์ urine chemical strip ใช้เวลา 20 วินาที
3 นำปัสสาวะไปปั่น ใช้เวลา 5 วินาที
4 นำตะกอนปัสสาวะไปตรวจ urine sediment ใช้เวลา 45 วินาที
เป็นต้น ซึ้งสามารถนำไปใช้กับงานทุกชนิด หรือทุกชิ้นที่อยู่ในห้องแล็บของเราครับ

แล้วนำค่างาน ในที่นี้ขอเรียกว่าเวลาที่ใช้ในการทำงานชิ้นๆนั้นๆมาคูณกับปริมาณงานที่บุคคลๆนั้นปฏิบัติได้ในแต่ละวัน ซึ่งเราก็จะได้ค่างานของแต่ละวันออกมา ซึ่งในการวิเคราะห์งานเพื่อหาภาระงานที่เพิ่มขึ้น (Workload) จะใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานแต่ละวันเท่ากับ 6 ชั่วโมง ถ้าค่างานที่ทำได้ในแต่ละวันเกิน 6 ชั่วโมงให้ถือว่ามีการเกิดภาระงานที่เพิ่มขึ้น

พอถึงตรงนี้แล้วเพื่อนๆพอจะเห็นอะไรบ้างรึยังครับ ในกรณีที่งานไม่เหมือนกันเราก็สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้แล้วครับ พอก่อนแล้วกัน คราวหน้าเราจะมาต่อกันใน KPI lab ตัวที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น: